UFABETWINS โควิด-19 นี่สร้างปัญหาทุกหย่อมหญ้าจริงๆ แม้ตอนนี้สนามหญ้าอาจไม่ได้รับผลกระทบเพราะไม่มีแข่ง
ทุกสนามหญ้าสวยหมด แต่มีหญ้าสนามหนึ่งกลับโดนย่ำจนเศษดินกระจายขึ้นมา ดูเป็นหลุมดำๆด่างๆ ท่ามกลางความเขียวขจี แน่นอนสนามดังกล่าวคงไม่ใช่ของทีมหญ้าสวยแห่งปี แต่เป็นสนามของว่าที่แชมป์พรีเมียร์ลีก…
ประเด็นข่าวใหญ่ที่ได้รับความสนใจท่ามกลางการเช็คยอดผู้ติดเชื้อในUK คือเรื่องของลิเวอร์พูล เอฟซี ยื่นขอรับมาตรการเยียวยาจากรัฐบาล กรณี “พักงาน” (furlough)ลูกจ้างส่วนที่ไม่ใช่ทีมบอลจำนวน 200 คน
ตามโครงการ The Job Retention Scheme ในสถานะการณ์โคโรนาไวรัส ซึ่งรัฐบาลมีโครงการนี้ให้แค่ 3 เดือนเท่านั้น โดยรัฐจ่ายให้ 80% หรือสูงสุดต่อคนต่อเดือน 2,500 ปอนด์ (1 แสนบาท) ลิเวอร์พูลยอมจ่ายส่วน 20 % ส่วนที่ขาด ทำให้พนักงานได้ครบ 100%
กรณี furlough หรือเฟอร์โลห์ นี้ มี 5 ทีมในพรีเมียร์ลีก
นอกจากหงส์แดงแล้วมีสเปอร์ส, นิวคาสเซิล, บอร์นมัธ และนอริช ปรากฏว่า ลิเวอร์พูลทีมเดียวเลยกลับโดนโจมตีอย่างหนักหน่วงจาก สื่อมวลชนตำนานนักเตะเก่าอย่าง เจมี คาร์ราเกอร์ รวมทั้งกลุ่มแฟนลิเวอร์พูลในอังกฤษ
ประเด็นของ3 กลุ่มนี้ตรงกันในเรื่องที่ลิเวอร์พูลไม่มีความจำเป็นต้องขอเข้ารับมาตรการนี้ เพราะสโมสรมีกำไรอยู่แล้ว ไม่ได้มีปัญหาด้านการเงินอะไรเหมือนทีมขนาดเล็ก
หรือทีมที่เป็นหนี้เป็นสิน อีกทั้งนี่คือทีมที่มี “สตอรี” รากเหง้ายิ่งใหญ่เชิงคุณค่า ดังนั้นการเคลื่อนไหวครั้งนี้ของ FSG ถือว่าก้าวผิดจังหวะไปหน่อย ส่งผลให้มันกระทบต่อเรื่อง “เกียรติภูมิ” ของทีมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากการที่ผมนั่งอ่านข้อคิดเห็นของสื่ออังกฤษเจ้าหลักๆ อย่างเดอะ ไทมส์ เดอะ การ์เดี้ยน , ดิ อินดิเพนเด้นต์, เดลี มีร์เรอร์, บีบีซี …
คอลัมนิสต์ ส่วนใหญ่วิพากษ์วิจารณ์ว่าลิเวอร์พูล ไม่สิ้นไร้ไม้ตอกถึงขั้นต้องเข้ามาตรการเยียวยา อีกทั้งพึ่งประกาศว่า “กำไร” ก่อนหักภาษี 42 ล้านปอนด์
(หักแล้ว 33 ล้านปอนด์) เทิร์นโอเวอร์ จากปีที่แล้ว 78 ล้านปอนด์ ทำให้ยอดผลประกอบการหงส์แดงทะลุ 533 ล้านปอนด์ อยู่ในช่วงอู้ฟู่ ที่สุดของสโมสรเลยก็ว่าได้ ดังนั้นควรให้เงินก้อนนี้ตกไปอยู่กับผู้ประกอบการอื่นๆที่แทบสิ้นเนื้อประดาตัวมากกว่า ….สายการบิน โลว์ คอสต์, ธุรกิจโรงแรม, สถานที่พัก, บริษัทห้างร้าน
ฝั่งอังกฤษเขามอง “เรื่องหงส์แดง” ด้วยเหตุผลสำคัญๆดังนี้ครับ
1 ลิเวอร์พูล ไม่ได้มีปัญหาด้านการเงิน
ปีนี้กำไร แถมเงินมีเงินจ่ายค่าจ้างนักเตะและพนักงานทั้งหมด 310 ล้านปอนด์ ในก้อนเล็กๆก้อนหนึ่ง 43 ล้านปอนด์ ถูกส่งไปให้ผู้จัดการส่วนตัวที่กิน% นักเตะอยู่ นี่คือทีมที่ไร้ปัญหาการเงิน!!!!!
ดังนั้น การให้รัฐเข้ามาช่วยจ่ายเท่ากับเงิน 80% นั้นคือเอาเงินจากภาษีเงินได้ที่ประชาชนทั่วประเทศจ่ายให้ รวมทั้งแฟนหงส์แดง, ตำนานนักเตะ, สื่อ แน่นอนทีมตัวเองด้วยส่วนหนึ่ง
รวมทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายของตัวเองลง…ตรงนี้เหมือนฉวยโอกาสด้วยส่วนหนึ่ง ไม่ผิดกฏ กติกา แต่อาจผิดความรู้สึกเชิงคุณค่า นะครับ
แล้วเมื่อคำนวณรายรับของพนักงานที่ไม่ใช่ทีมบอล (พวกบุคคล, บัญชี, เซลส์, ฝ่ายกฏหมาย, เจ้าหน้าที่สนาม, ประชาสัมพันธ์ บลา บลา บลา)
ตลอด 3 เดือนจากยอด 80% ของรัฐ เท่ากับเงินก้อนนี้แค่ 1.5 ล้านปอนด์เอง คำถามจากสื่อ….ถามว่า ลิเวอร์พูล! คุณจ่ายเงิน 1.5 ล้านปอนด์ (60 ล้านบาท)ไม่ได้เชียวหรือ?
เงินก้อนนี้สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก มันคือ “เงินใหญ่” มาก
2 ลิเวอร์พูลคือทีมที่มีเกียรติประวัติและโครงสร้างจาก “ค่านิยม” แฟนบอล
ด้วยเพราะลิเวอร์พูลคือหนึ่งในทีมประจำเมืองลิเวอร์พูล ที่ประชาชนคนเมืองนี้ก่อร้างสร้างตัวด้วยวิถีแบบ “สังคมนิยม” หรือ socialism รวมทั้ง สปิริตของชุมชนชาวเมืองนี้
ถ้าทีมฟุตบอลนั้นย้อนไปยุค บิลล์ แชงค์ลีย์ เข้ามาก่อร่างสร้างพื้นฐานของทีม นับจากยุคทศวรรษที่ 50 เป็นต้นมา เขาใช้แนวคิดแบบนี้เป็นพื้นฐานของทีม
แม้ว่าวิถีฟุตบอลเป็นธุรกิจและเจ้าของทีมเป็นคนอเมริกันแบบ “ทุนนิยม” capitalism แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ารากเหง้าของลิเวอร์พูลเอฟซี นั้นแฝงไว้ด้วยรากฐานจากสปิริตชุมชนและสังคมนิยมซะมากกว่า
จะบอกว่ากายหงส์เป็นทุนนิยมแต่จิตวิญญาณคือสังคมนิยมก็ได้นะครับ
เช่นกันครับแฟนบอลหงส์แดงที่อังกฤษ ก็มองคล้ายๆนักข่าวครับ เพราะสมาคมแฟนบอลกลุ่มใหญ่อย่าง Spirit Of Shankly ทำจดหมายถึงสโมสร
ส่งถึง ปีเตอร์ มอร์ หัวหน้ากรรมการบริหารของทีม ขอคำอธิบายว่ามีเหตุผลกลใด ถึงได้ขอรับมาตรการเยียวยาจากรัฐ ซึ่งนำงบประมาณจากภาษีเงินได้ของพวกเขา
รวมทั้งลูกจ้างที่ต้องจ่ายภาษีตัวเองอยู่แล้วในแต่ละปี คือเท่ากับ 80% ของรัฐ ส่วนหนึ่งก็มาจากเงินภาษีของตัวพนักงานนั่นแหละ…
คนอังกฤษเขาคิดลึกกันถึงตรงนั้นนะครับ พวกเขาจึงไม่แฮปปี้กับแนวทางแบบนี้ เหมือนทีมบริหารฉวยโอกาสเล่นเกมนี้ ใช้สถานะการณ์โควิด-19 อ้าง เพื่อลดค่าใช้จ่าย เหลือ 20%
ที่สำคัญ non-playing staff เป็นชนชั้นแรงงาน คนธรรมดาทั่วไป ที่ค่าแรงขั้นต่ำ ไม่ได้เยอะอะไรมากมาย มันคือพี่น้อง ลูกหลานของแฟนหงส์ในเมืองลิเวอร์พูลนั่นแหละ
มองภาพนี้ให้ออกนะครับ…ว่าทำไม SOS และอีกหลายกลุ่มแฟนหงส์ในอังกฤษ จึงไม่เห็นด้วยกับผู้บริหารสโมสรลิเวอร์พูล
ยิ่งศึกษาภูมิหลังการตกงาน เมืองร้าง จากท่าเรือปิดยุค 60 คนกลุ่มลูกจ้างเมืองนี้
เจ็บปวดที่สุด…และพอเจอสถานการณ์อะไรแบบนี้ คนระดับล่างย่อมเข้าใจหัวอกคนระดับเดียวกันได้เป็นอย่างดี
สื่อมวลชนอังกฤษก็ย่อมมองเห็นช่องทางนี้อยู่แล้ว ก็ไม่แปลกที่พวกเขาจะโจมตีลิเวอร์พูล ซึ่งรวมทั้ง เจมี คาร์ราเกอร์ ที่มาจากบ้านชนชั้นแรงงาน แม้ได้ดีเพราะฟุตบอล แต่เขาก็ต้องเป็นปากเสียงให้คนกลุ่มนี้เช่นกัน
เอะอะมีปัญหาอะไร ก็กลายเป็นพวกกู (ลูกจ้างระดับล่าง) นี่แหละโดนเล่นกลุ่มแรกเลย
ไม่เชื่อให้ รอบบี ฟาวเลอร์ มาอธิบายความเจ็บปวดของคนส่วนใหญ่เมืองนี้ ที่แน่นอนที่สุดความเป็น บิลล์ แชงค์ลีย์ “บิดาหงส์แดง” ผู้บูชา “สังคมนิยม”
ถึงขั้นถามแบบย้อนเวลาว่า “แชงค์ จะทำอย่างไร ถ้าเจอแบบนี้” ทุกคนเชื่อว่า แชงค์ลีย์ ไม่ทำแบบ FSG แน่นอน ถ้าเข้าใจพื้นฐานแนวคิดของคนเมืองลิเวอร์พูล พวกสเก๊าเซอร์ ชนชั้นแรงงาน เราจะมองทะลุถึงปัญหาที่ FSG เผชิญหน้าอยู่ครับ
FSG ไม่ผิดหรอกครับสำหรับโลกทุนนิยมของพวกเขา แต่หลายครั้งการตัดสินใจของทีมบริหารก็ไม่ถูกต้องเสมอไป
ความพยายามในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเชิงการตลาดกับทีมไม่ดีนักตอนแรก การขึ้นราคาค่าตั๋วที่โดนแฟนหงส์เดินออกจากสนามหลัก10,000 เมื่อ 6 ก.พ. 2016
จนต้องออกมาขอโทษแฟนบอลและราคาตั๋วก็หยุดไว้แค่นี้ ขึ้นราคาไม่ได้ หรือเรื่องการขอจดทำเบียนชื่อ Liverpool ซึ่งเป็นชื่อเมือง ก็โดนกรมการค้าภายในเบรคหัวทิ่มไปเมื่อปีก่อน
แม้ว่าผลงานของ FSG ตั้งแต่ปี 2010 สร้างทีมได้ยอดเยี่ยมเชิงธุรกิจ สถานะภาพทางการเงินของสโมสรดีขึ้นมาก จัดเข้าขั้นกำไรแล้ว
มูลค่าสินทรัพย์ติดอันดับ 7 ของโลก ..ปลอดหนี้
สภาพการเงินหมุนคล่องตัว…..
แต่การเล่นเกมจังหวะนี้ ส่วนตัวผมมองคล้ายๆกับคนที่อังกฤษ FSG “ผิดจังหวะ” ไปหน่อย รีบไปนิดเหมือน เหมือนว่าเท้าแตะอยู่บลอคสตาร์ตเพื่ออกตัววิ่งแข่ง ปรากฏว่าดันออกตัวก่อนเสียงปืน
“สตาร์ทฟาวล์” สิครับ
ต้องไม่ลืมว่าบอลนั้นกลับมาแข่งได้ “เงินก้อน” จากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทีวีรออยู่
ยังไงก็เพียงพอต่อการอุ้มทีม…จนดูเหมือนปีนี้คงขาดทุนกำไรเท่านั้น อีกอย่างนักการบัญชีกีฬาของอังกฤษเขามองว่า…
6 ทีมใหญ่รอดวิกฤตโควิด-19 สบายๆ
ยิ่งแมนฯซิตี้, แมนฯยูฯ โชว์ฟอร์ม ไม่มีมาตรการ furlough จ่ายเงินเดือนพนักงานทุกคน เต็มเดือนตามปกติ FSG ก็ต้องยอมรับการโดนวิพากษ์วิจารณ์จากคนอังกฤษไปตามระเบียบ
ไม่ได้ด่า FSG เอาตายหรือให้เสียหาย ชั่วช้า สามานย์
แต่เราในฐานะสื่อย่อม “แตะต้อง” สโมสรได้ หากบางสิ่งบางอย่างมันไม่เป็นไปตามครรลอง
ตอนนี้ สโลแกนเท่ห์ๆ อย่าง “This means more” ถูกนำมาแซะตามหน้าสื่ออังกฤษ…แล้วว่า This means more…..Money อะสิ
เข้าใจครับ…เรื่องแบบนี้ Even the smartest people get it wrong sometimes. แม้กระทั่งคนฉลาดที่สุดยังทำผิดพลาดในบางครั้ง
คลิกเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
คลิกเลย >>> https://www.dhruva-automation.com/